มาตรฐานการรับรองในห้องปฏิบัติการทางนิติเวช


   สมรรถนะในการชั่งน้ำหนักมี ผลอย่างยิ่งในห้องปฏิบัติการทางนิติเวช สมรรถนะของเครื่องชั่งและโดยเฉพาะอย่างยิ่งขีดจำกัดน้ำหนักล่างที่สามารถ ชั่งได้ มีผลต่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานและอาจทำให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ต่อ รูปคดีดังนั้น เราจึงได้พัฒนา วิธีการปฏิบัติที่ดีสำหรับการชั่ง (Good Weighing Practice) จัดทำเป็นคู่มือซึ่งให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการชั่งเพื่อให้มั่นใจว่าผลของการชั่งมีความถูกต้องแม่นยำ

     ในแต่ละปี ห้องปฏิบัติการทางนิติเวชจำเป็นต้องส่งรายงานการตรวจสอบประจำปี ต่อคณะกรรมการเพื่อการรับรองห้องปฏิบัติการของสมาคมของ ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการทางนิติเวชแห่งสหรัฐอเมริกา (ASCLD/LAB) ในรายงานมีการวิเคราะห์อย่างละเอียดเพื่อให้มั่นใจว่าห้องปฏิบัติการ ทางนิติเวชเป็นไปตามมาตรฐานในด้านต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ และเพื่อให้ห้องปฏิบัติการทางนิติเวชคงได้รับการรับรองจากคณะกรรมการ

ผลจากการชั่งน้ำหนักที่ไม่ถูกต้อง
ผู้ตรวจสอบจาก ASCLD/LAB ให้ความสนใจมากขึ้นในข้อที่ว่าเครื่องชั่งภายในห้องปฏิบัติการนั้นเป็นไปตาม มาตรฐานหรือไม่ เว้นเสียแต่ว่าผู้ทดสอบที่ได้รับการรับรองจัดทำรายงานซึ่งระบุสมรรถภาพใน กิจกรรมต่างๆ เพื่อทวนสอบ การตรวจสอบห้องปฏิบัติการระหว่างกาลอาจมีความจำเป็น ในระยะหลัง การเฝ้าสังเกตของผู้ตรวจสอบที่บ่อยครั้งและละเอียดขึ้น ทำให้พบว่าเครื่องชั่งนั้นขาดค่าน้ำหนักต่ำสุดที่ชั่งได้ไป แม้อาจดูเหมือนไม่มีความสำคัญเท่าใด แต่ในทางนิติเวชแล้วไม่มีปัจจัยใดที่ สำคัญเสมอค่าน้ำหนักต่ำสุดที่เครื่องชั่งสามารถชั่งได้ มีการให้คำจำกัดความว่าเป็นขีดจำกัดเริ่มต้นที่น้ำหนักที่น้อยกว่าขีดจำกัด นี้ ดังอ่านได้จากเครื่องชั่งไม่ถูกต้องอีกต่อไป ค่าน้ำหนักต่ำสุดที่ชั่งได้นี้จะกำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองโดย การใช้น้ำหนัก สำหรับทดสอบที่ได้รับการรับรองเช่นกัน และเนื่องจากว่าค่าน้ำหนักต่ำสุดที่ชั่งได้นี้จะแตกต่างกันไปสำหรับเครื่อง ชั่งแต่ละเครื่องในห้องปฏิบัติการ ดังนั้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดตั้งมาตรฐานที่เชื่อถือได้ และบันทึกลงในรายงานประจำปี อย่างไรก็ตามหากไม่ทราบค่าน้ำหนักต่ำสุดที่ชั่งได้ ผลการชั่งน้ำหนักของตัวอย่างขนาดเล็กในห้องปฏิบัติการอาจไม่ถูกต้อง ดังนั้น ในฐานะผู้ให้ข้อมูลแก่ระบบศาลยุติธรรม แม้ความคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อยก็อาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อคำพิพากษา ให้จำเลยรับโทษจำคุก

การทวนสอบสมรรถนะ
ในแง่ของการเรียกร้องขอคำแนะนำในเรื่องความคลาดเคลื่อนในการวัดและค่า น้ำหนักต่ำสุดที่ชั่งได้ METTLER TOLEDO ได้พัฒนาวิธีการปฏิบัติที่ดีสำหรับการชั่ง (Good Weighing Practice™) ขึ้น คู่มือการชั่งน้ำหนักโดยอิงกับความเสี่ยงที่สามารถใช้ได้อย่างกว้างขวางนี้ ทำให้ห้องปฏิบัติการทางนิติเวชสามารถรายงานผลการชั่งน้ำหนักได้อย่างถูกต้อง แม่นยำในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานที่ได้รับการรับรอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์บริการที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ ได้แก่ การทวนสอบด้วยวิธี GWP® สามารถให้การวิเคราะห์อย่างละเอียดตามที่คณะกรรมการเพื่อการรับรอง ASCLD/LAB ได้กำหนดไว้ หัวใจของบริการทวนสอบสมรรถนะคือบทสรุปสำหรับผู้บริหารแสดงด้วยรหัสสี ซึ่งมีความเหมาะสมต่อผู้อำนวยการของห้องปฏิบัติการเนื่องจากได้แสดงสถานะของ เครื่องชั่งแต่ละเครื่องในส่วนที่เกี่ยวกับความเสี่ยงจากการวัดที่ไม่ถูก ต้อง อันอาจเกิดขึ้น
เมื่ออ้างอิงกับรายงานฉบับนี้ ทำให้สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำที่จำเพาะกับเครื่องชั่งแต่ละเครื่องเพื่อ กำหนดระดับความคลาดเคลื่อนที่ยินยอมได้ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งและหลีกเลี่ยงการชั่งน้ำหนักที่น้อยกว่าค่า น้ำหนักต่ำสุดที่ชั่งได้ คำแนะนำอาจรวมถึงตารางเวลาการทดสอบที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งระบุความถี่ของการตรวจสอบและปรับเทียบมาตรฐาน น้ำหนักทดสอบที่ต้องใช้ และขีดจำกัดการควบคุมของการทดสอบแต่ละครั้ง

การตรวจสอบความเสี่ยงออนไลน์โดยไม่คิดมูลค่า
ในขั้นแรก ความเป็นไปได้สำหรับค่าการวัดที่ไม่ถูกต้องในห้องปฏิบัติการทางนิติเวช สามารถวิเคราะห์โดยใช้ การตรวจสอบความเสี่ยงออนไลน์โดยไม่คิดมูลค่า เครื่องมือชิ้นนี้ทำให้ผู้จัดการของห้องปฏิบัติการสามารถกำหนดน้ำหนักต่ำสุด ที่เครื่องชั่งแต่ละเครื่องสามารถชั่งได้ และสามารถระบุได้อย่างรวดเร็วว่าค่าการวัดที่ผิดพลาดนั้นอาจเกิดขึ้นจากที่ ใด

    ขั้นต่อไป ควรมีการตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องชั่งโดยผู้ให้บริการที่ได้รับการ รับรองจากภายนอก เช่น METTLER TOLEDO ท่านจะได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการทวนสอบสมรรถนะที่เหมาะสมและความ ช่วยเหลือในการเตรียมรายงานเพื่อรับรองประจำปี
ท้ายที่สุด การใช้งานร่วมกันของการตรวจสอบความเสี่ยงออนไลน์และการทวนสอบด้วยวิธี GWP® ทำให้เกิดเป็นโซลูชันที่ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ ส่งผลให้ห้องปฏิบัติการใดๆ สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของ ASCLD/LAB และหลีกเลี่ยงจากการพิพากษาความผิดพลาด เนื่องจากการ ชั่งน้ำหนักตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง

 

 

Visitors: 131,046